Saturday, April 26, 2008

About TBCAF

Tak Border Child Assistance Foundation (TBCAF) is a non-religious, non-profit foundation which was established by the local community along the Thai-Burma border.

TBCAF provides educational support for children from low-income families, working families, neglected and vulnerable children who have less access to basic and higher education. In addition, TBCAF promotes community development by coordinating local GOs and international NGOs.

To establish the program that is better accomplished by a group than individuals so the committee and advisory team made the decision to form TBCAF by means of utilize the various resources efficiently and effectively.

TBCAF was approved by Governor (CEO) of Tak province in October 20, 2005 with the registration number is Tak Province 38/2548 in Thailand.

Address: 34/53, Maesot-Maetao Rod, Mae Sot, Tak 63110, Thailand
Tel/Fax: 055-542068
Director: Mr. Wathit Hathaiphatsorn (06-2020027)
E-Mail: w_tit@yahoo.com

Objectives
1. To advocate and protect children and youth’s rights, value, and dignity.
2. To create and provide educational opportunities for less fortunate children, orphans, and migrants.
3. To promote and support appropriate vocational and skilled training based on local situation.
4. To encourage children to express themselves based on the Child Protection Bill of B.E. 2546.
5. To get involved actively in work with both local GOs and international NGOs.

Target areas
5 border districts of Tak province, Tha Song Yang District, Mae Ramat District, Mae Sod District, Pop Pra District, Umphang District.

Strategies
1.To organize fund-raising for children and youths’ education and skill training programs.
2.To collaborate and build better partnerships with local communities, local GOs and international NGOs.
3.To get involved with any other social work issues that may arise.

ความเป็นมาของมูลนิธิฯ

มูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตากได้ก่อตั้งและจดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้มีสิทธิ ศักดิ์ศรี คุณค่า และได้รับการศึกษาที่มาตรฐาน พร้อมทั้งส่งเสริมการปกครองและระบอบประชาธิปไตยโดยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและดำเนินการสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตาก ได้ดำเนินการขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2548/ค.ศ.2005 และได้รับการจดทะเบียนจากผู้ว่าราชการจังหวัดตากเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2548/ค.ศ.2005 เลขที่จดทะเบียน ตก 38/2548 และนายวาทิต หทัยภัสสร เป็นประธานคณะกรรมชุดแรกของมูลนิธิฯ และเลขที่บัญชี 302-1-20884-4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาแม่สอด จังหวัดตาก

ที่อยู่: 34/53 ถ.แม่สอด-แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก 63110
เบอร์โทรศัพท์: 055-542068 & 06-2020027

วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมสนับสนุนสิทธิ ศักดิ์ศรี และคุณค่าของเด็กและเยาวชนชายแดนจังหวัดตาก
2.ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนเด็กและเยาวชนที่กำพร้า ขัดสน ด้อยโอกาส และเด็กอพยพเร่ร่อนให้มีโอกาสและอนาคตที่ดี
3.ส่งเสริมและจัดหาโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่มาตรฐานเพื่อให้มีโอกาสในการประกอบอาชีพที่มั่นคง
4.ส่งเสริมและจัดหาโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกโดยยึดหลักจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
5.เพื่อดำเนินการสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6.ส่งเสริมการปกครองและระบอบประชาธิปไตยโดยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เป้าหมาย
ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนชายแดนจังหวัดตาก โดยมีเป้าหมายหลักใน 5 อำเภอชายแดนฝั่งตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง

วิธีดำเนินการ
1.จัดหาแหล่งทุนเพื่อเด็กและเยาวชนเข้าถึงการศึกษาที่มาตรฐาน
2.แสวงหาความร่วมมือระหว่างองค์กรพันธมิตร
3.ประสานและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4.จัดทำกิจกรรมบริจาคเพื่อการสงเคราะห์ทั่วไป

關於TBCAF

泰國達府邊境兒童協助基金會Tak Border Child Assistance Foundation (TBCAF),是由泰緬邊境達府邊境兒童協助基金會為來自低收入戶、移工家庭、受忽視及弱勢等欠缺基礎及進修教育機會的兒童提供教育援助。同時,本基金會藉由協調在地政府部門與國際非政府組織來促進邊境社區發展。

有鑑於組織化的團隊比分散的個人更有利於服務計畫的達成,社區委員和顧問群決定充分、有效地運用不同資源,協力創辦泰國達府邊境兒童協助基金會 (TBCAF) ,並期待藉此正式化組織能使服務發展工作得以持續經營。

2005年十月二十日,達府政府正式核可-邊境兒童協助基金會 (TBCAF) 之申請立案,並核發泰國民間組織註冊字號:達省38/2548 (Tak Province 38/2548)

地址:34/53, Maesot-Maetao Rod, Mae Sot, Tak 63110, Thailand
電話/傳真:055-542068 執行長:瓦悌先生(Mr. Wathit) Hathaiphatsorn (06-2020027)
電子信箱:w_tit@yahoo.com

宗旨:
1. 提倡並維護兒童及青少年的權利、價值和尊嚴。
2. 為弱勢兒童、孤兒及移工孩童創造與提供教育機會。
3. 根據在地資源與條件,倡導和提供適當之技職訓練。
4. 根據兒童保護法 (Child Protection Bill of B.E. 2546) 來鼓勵孩童表達自我。
5. 與在地政府及國際組織積極合作。

服務地區:
達府的五個邊境地區,(Tha Song Yang District, Mae Ramat District, Mae Sod District, Pop Pra District, Umphang District.)。

Thursday, April 26, 2007

Future Plan

TBCAF has rent the house for office works in Bann Pha dei, 135 Moo 4, Phra that pha dang sub district, Mae sot, Tak. And higher education project accommodation compound we borrow from some our committee. In current TBCAF already bought the land, it’s around 4 acre. This land is to plan for TBCAF center.

There are 5 buildings as these following:

  • Child and youth training building
  • TBCAF office building
  • Male dormitory
  • Female dormitory
  • Multipurpose building
แผนงานอนาคต
มูลนิธิฯได้เช่าบ้านของชาวบ้านเป็นสำนักงานชั่วคราวที่หมู่บ้านพะเด๊ะ เลขที่ 135 ม.4 อ.แม่สอด จ.ตาก และมีกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องโดยอาศัยที่ดินของคณะกรรมการท่านหนึ่งเป็นการชั่วคราวเช่นกัน ปัจจุบันได้จัดซื้อที่ดินที่แม่ปะใต้ อำเภอแม่สอด เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 329 ตารางวา และมีแผนดังนี้
  • ก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน
  • ก่อสร้างอาคารสำนักงานมูลนิธิฯ
  • ก่อสร้างอาคารหอพักชาย-หญิง
  • อาคารอเนกประสงค์/ห้องเรียน/ห้องอาหาร

未來計畫

泰國達府邊境兒童協助基金會正積極籌畫創建—邊境孩童青年發展中心。依據在地社區需求和共同參與,配合當地公部門政策規劃,尋求在地社團與國際組織之贊助,以基金會名義購置土地作為永續經營之基地,將促成提供技職訓練服務、高等教育獎助學生宿舍、在地文化與經驗傳承等功能。

此中心將包含:

  • 孩童與青年培訓中心
  • 達府邊境兒童協助基金會辦公室
  • 學生宿舍區
  • 多功能活動場地

Remote Communities Development Project.

Hydropower / background
Hill tribe community live on highland it’s high mountain with forest and head stream by far development and the transportation is difficult in rainy season. Their occupations are rotation fields , plant rice and integrate with other vegetables , they have their own traditional custom, culture as their symbol and they are also known as peace lovely folks by their sharing and caring , friendliness as well as mutual understanding and cooperation like one big family . Some village they have small school, public health center and multipurpose building, but they don’t have an electricity to use some Technology for the school. We provided a Mini-Micro Hydro Power for using in public center and do some income
Comment1
I am Border Green Energy Team [BGET] volunteer have received more experience Solar Home System , Micro Hydro Power , Solar Cooker and Ram Pump. I felt that this energies are useful for rural communities to reduce the families expense , reduce to destroy the forest and the villagers conscious of water in useful and satisfied in forest preservation and natural resource management for sustainable. The villagers said that we are satisfy in new technology and try to find a good way for general income in green energy .

Location time people 2006
Micro Hydro Power in Huey Kra Thing village, Moo 6, Phra That sub district, Mae ramat district, Tak. We provided it on February 2006; it’s useful for 45 students and 265 villagers.

Location time people 2005
3. Micro Hydro Power in Mae sa pao village, Moo 2, Mae wa luang sub district, Tha yong yang district, Tak. We provided it on March 2005; it’s useful for 36 students and 386 villagers.

Location time people 2004
2. Micro Hydro Power in Ewijo village, Moo 8, Mae wa luang sub district, Thasongyang district, Tak. We provided it on February 2004; it’s useful for 77 students and 242 villagers

Location time people 2003
Micro Hydro Power in Kre kee village, Moo 9, Mae wa luang sub district, Thasongyang district, Tak. We provided it on February 2003; it’s useful for 76 students and 300 villagers.
Solar power training (background)
Two years a go [2004] the Government installed Solar Home System to remote communities because the land are reservations and national park area. It couldn’t run electricity from town to there, but the Solar cell is a new technology for villagers, they don’t understand when get a problem, we give a training workshop to villagers for understanding the System, maintenance the System with environment.

Location time people
We provided training workshop on January – March 2006 to villagers and local government members in Thasongyang district, Tak area. There were 6 district and 120 people in participants.

We provided training workshop on March – June 2006 to villagers and local government members in Thasongyang district, Tak area. There were 5 district and 100 people in participants

We provided training workshop to Refugees people in Mae la camp Thasongyang district, Umpium mai camp in PhoPhra district and in Nu pho camp Umphang district, Tak province.

โครงการพัฒนาชุมชนห่างไกล

ชุมชนชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง เป็นป่าเขาและต้นน้ำ ห่างไกลความเจริญ และการคมนาคมลำบากมากในฤดูฝน มีอาชีพทำไร่หมุนเวียน ปลูกข้าวเป็นหลักและผสมผสานกับพืช ผักที่เป็นพันธุ์พื้นบ้าน ได้ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย มีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเอง รักและช่วยเหลือ แบ่งปันซึ่งกันและกัน ในแต่ละปีจะมีการถางป่าเพื่อทำไร่ข้าวและในบางชุมชนมีโรงเรียนขนาดเล็ก สาธารณสุขชุมชนและสถานที่อเนกประสงค์ แต่ไม่ไฟฟ้าที่จะใช้กับสื่อการเรียนการสอนหรือเทคโนโลยีอื่น จึงเกิดโครงการไฟฟ้าน้ำตกขนาดเล็ก เพื่อใช้ในสถานที่สาธารณประโยชน์ หารายได้เสริมจากไฟฟ้า

และขณะเดียวกันชุมชนเกิดสำนึกประโยชน์ของน้ำ แล้วจัดกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำเพื่อการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

ผมเป็นอาสาสมัครในโครงการพลังงานสีเขียวตลอดชายแดนจังหวัดตากได้เรียนรู้เรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Home System) พลังงานไฟฟ้าน้ำตก (Micro Hydro Power) การหุงต้มด้วยพลังงานแสงแดด (Solar Cooker) และการทดน้ำด้วยแรงดันของน้ำ (Ram Pump) รู้สึกว่าเป็นพลังงานที่มีประโยชน์กับชาวบ้านในชนบทมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับชาวบ้าน ลดการตัดไม้ทำลายป่า และทำให้ชาวบ้านสำนึกในการอนุรักษ์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่วนชาวบ้านเองบอกว่ามีความพอใจกับเทคโนโลยีใหม่ๆและจะหาวิธี หาอาชีพเสริมจากการใช้พลังงานนี้เพื่อสร้างคุณภาพที่ดีขึ้น นายสุคนธ์ พันธุ์ปัญญากรกุล (Tey)

4.โครงการไฟฟ้าน้ำตกบ้านห้วยกระทิง หมู่ที่ 6 ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 เกิดประโยชน์กับนักเรียน 45 คน ชาวบ้าน 265 คน

3.โครงการไฟฟ้าน้ำตกบ้านแม่สะเปา หมู่ที่ 2 ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม 2548

2.โครงการไฟฟ้าน้ำตกบ้านอิวีโจ หมู่ที่ 8 ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ 2547

1.โครงการไฟฟ้าน้ำตกบ้านเกร๊ะคี หมู่ที่ 9 ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง
เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมกราคม 2546

เมื่อปีพ.ศ.2547 รัฐบาลได้ติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบครัวเรือนให้กับชาวไทยบนพื้นที่สูง ด้วยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติไม่อาจส่งระบบไฟฟ้าจากพื้นราบได้ แต่ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเทคโนโลยีใหม่ชาวบ้านไม่เข้าใจระบบส่งผลถึงปัญหาหลายอย่าง จึงเกิดโครงการฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความเข้าใจ รู้จักดูแลรักษา การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนที่สุดพร้อมทั้งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

จัดฝึกอบรมให้ชาวบ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 6 ตำบล จำนวนคนประมาณ 120 คน เริ่มเมื่อเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2549

จัดฝึกอบรมให้ชาวบ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก จำนวน 5 ตำบล จำนวนคนประมาณ 100 คน เริ่มเมื่อเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2549

จัดอบรมให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพม่าที่ที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละอำเภอท่าสองยางที่พักพิงชั่วคราวบ้านอุ้มเปี้ยมใหม่อำเภอพบพระและที่พักพิงชั่วคราวบ้านนุโพอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

偏遠地區發展計畫

興建小型水力發電之背景概述:
山地村落座落於叢林高山裡,阻礙了社群發展,雨季時對外交通異常困難。住民們是輪作田地的農民,種植稻米和蔬菜。有自己的傳統服飾與文化象徵,並且愛好和平,樂於相互分享、關懷,友善、互諒、合作的就像個大家庭一般。部份村落有小型學校、公共健康中心和社區活動中心,但欠缺電力讓學校運用較高科技的硬體設備。我們架設了小型水力發電裝置讓公眾使用,並訓練村民如何維護與保養。

經驗分享一:
我是邊境綠色能源團隊(BGET)的志工,對於太陽能系統、小型水力發電、太陽能鍋和水錘泵,我有許多相關經驗。我認為綠色能源對鄉村很有幫助,村民可因而減少家計開銷、避免森林濫墾濫伐、善用水資源,促進水土保持並達成自然資源的永續經營。村民很滿意我們提供的能源科技,所以綠色能源是值得推廣的。(Dek, 社區志工)

2006年工作概況:我們在2006年二月為Huey Kra Thing村提供水力發電。共計有45名學生、265位村民因此受惠。

2005年工作概況:我們在2005年三月為Mae sa pao村提供水力發電。共計有36名學生、386位村民因此受惠。

2004年工作概況:我們在2004年二月為Ewijo村提供水力發電。共計有77名學生、242位村民因此受惠。

2003年工作概況:我們在2003二月為Kre kee村提供水力發電。共計有76名學生、300位村民因此受惠。

太陽能發電工作坊之背景概述:
泰國政府於2004年在偏遠地區架設了家用太陽能發電系統,因為這裡是國家公園保護區,電力無法從城鎮輸送過來。然而,太陽能電池對村民來說是新科技,如果系統出了問題,他們會不知道該如何解決。所以我們為村民開了個工作坊,讓他們對系統與相關維護有更進一步的了解。

工作概況:
我們於2006年一月至三月在達府Thasongyang區為村民及當地政府官員開設工作坊。計有六區共120人參與。

2006年三月至六月在達府Thasongyang區為村民及當地政府官員開設工作坊。計有五區共100人參與。

在Thasongyang區的Mae la難民營、PhoPhra區的Umpium mai難民營和Umphang區的Nu pho難民營為難民開設工作坊。

Higher Education Scholarship Project.

General background
The Government to provide the basic education to high land people [Remote area] . To start at grade 1-9 , after that less of child and youth able to study in higher education, some youth go to work in Town then become to labors and was pressed with the price, at lest they be change to human commerce. Other wise a necessary to open an opportunity to them for studying in Vocational college and University, when they graduates in their education with full of skill, experience in Social, cultural then they will return to their communities to help in education, social and cultural development by abilities.

Comment1
I graduated in English teacher Degree in Rachaphat University and got fully of my dream and thank you every one who helped me got the scholarship in this project. I stayed 4 years in accommodation as special are English, computer, organic agriculture and general culture cause, it gave me a lot of experience. Every friends got a knowledge and experience the same me, we helped and worked together but when we finished in education have separated to go to help children youth inopportunity people in remote communities. For me have to help our students who enter in the project and try to develop our Foundation. [Nook] Foundation staff

Comment2
I am very satisfied that the children and youth interesting in learning and seeing the education values, they want to learn in high level school then come back to develop the community. Always their parents help the school and push their children have to go to learn. However, how to find a good way to provide higher education for them. [Watit] TBCAF chairman

Location time people
Bann Pha dei Dormitory Moo 4, PhrathatPhadang sub district, Mae sot district, TAK, started on May 2002, there are 3 students graduated in University , 5 students in Vocational college . Now there are 11 students in Dormitory. โครงการการศึกษาต่อเนื่อง

การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูงของภาครัฐส่วนมากเป็นการศึกษาภาคบังคับ (ป . 1 ถึง ม. 3) จากนั้นเด็กและเยาวชนส่วนน้อยมากที่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น บางส่วนลงไปหางานทำในเมือง จึงเกิดแรงงานเด็กและถูกเอารัดเอาเปรียบด้านค่าแรง สุดท้ายถูกปรับเปลี่ยนเป็นระบบการค้ามนุษย์ขึ้นมา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาในระดับวิทยาลัยการอาชีพถึงขั้นระดับอุดมศึกษา เมื่อเขาจบการศึกษา พร้อมทักษะแต่ละด้าน มีประสบการณ์ในสังคม วัฒนธรรมเมือง แล้วจะได้กลับเข้าสู่ชุมชนตนเอง ช่วยเหลือและพัฒนาการศึกษา สังคมด้านอื่นๆตามความสามารถ ความถนัดของแต่ละคน

ฉันจบปริญญาตรีด้านการศึกษาตามความคาดฝันแล้ว ขอขอบคุณองค์กรมากที่ช่วยฉันได้อยู่ในโครงการ จากการดำเนินชีวิต 4 ปี ในหอพักได้เรียนภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ การเกษตร และวัฒนธรรมที่หลากหลาย สร้างประสบการณ์ให้ฉันมาก เพื่อนๆทุกคนได้รับความรู้และประสบการณ์เช่นเดียวกับฉัน เราอยู่กันด้วยความรักช่วยเหลือเกื้อกุลซึ่งกันและกัน เมื่อเรียนจบแล้วต่างคนต่างแยกย้ายกันไปช่วยเหลือเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนห่างไกลตามความถนัด ความเหมาะสมที่แต่ละคนได้เรียนรู้มา ส่วนฉันจะช่วยเหลือน้องๆที่เข้ามาอยู่ในโครงการต่อไปและจะพยายามพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและความใฝ่ฝันของตนเองที่มีไว้มานาน น.ส.ดาราณี คีรีนนทชัย (Nook) เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ

ผมมีความภาคภูมิใจมากที่เด็กและเยาวชนมีความสนใจใฝ่หาความรู้ รู้ถึงคุณค่าของการศึกษา อยากเรียนในระดับสูงๆแล้วกลับมาช่วยเหลือชุมชนผู้ด้อยโอกาส ผู้ปกครองเองเริ่มส่งเสริมบุตรหลานเข้าถึงการศึกษา และช่วยเหลือโรงเรียนมาตลอด แล้วเราจะมีแนวทาง วิธีการให้พวกเขาเข้าถึงการศึกษาที่สูงขึ้นได้อย่างไร นายวาทิต หทัยภัสสร ประธานมูลนิธิฯ

1.หอพักบ้านพะเด๊ะ หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2545
นักศึกษาจบปริญญาตรี 3 คน ปวช.การบัญชี 1 คน ปวช.ช่างยนต์ 3 คน ปวช.ไฟฟ้า 1 คน
ปัจจุบันกำลังเรียนอยู่ 11 คน
2. หอพักพระพร หมู่ที่ ต. แม่ระมาด อ.แม่ระมาด จ.ตาก
เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2549
นักเรียนมีจำนวนทั้งหมด 28 คน

高等教育獎學金計畫

背景概述:
雖然公部門政策為偏遠山地居民提供的9年國民教育,但很少年輕人能夠順利完成基礎教育,有些前往城鎮謀生,成為收入微薄的勞工與被剝削的勞動力,更難有機會可以繼續深造。這些部落青年們需要職業學校與大學的就學機會,畢業後才能具備充分的技能、社會與文化經驗回來發展社區的教育、社會和文化。

經驗分享一:
感謝所有幫助我取得高等教育獎學金的人,我已完全實踐我的夢想,從Rachaphat省立大學畢業了,我主修英語教學。四年的大學宿舍生活讓我和有英語、電腦、有機農業與文化研究等專長的學生互動密切,使我獲益良多。我在這裡結交的每個朋友都和我一樣擴充了學識,我們相互扶持,一同努力。完成學業後,大家分赴偏遠地區為弱勢的兒童服務。至於我,則負責協助學生參與這項獎學金計畫,為我們基金會的營運發展而努力。 (Nook,TBCAF基金會職員)

經驗分享二:
我非常樂見年輕一代熱衷於學習並了解教育的重要性。他們渴望接受高等教育,學成後回饋鄉里。家長們也熱心於校務,並督促他們的小孩努力求學。然而,該如何做才能增加他們繼續深造的機會呢?始終也是我們所堅持和努力的目標。(Watit,TBCAF基金會執行長)

計畫執行情況:
Bann Pha dei學生宿舍自2002年五月起算,有三位學生從大學畢業,五位學生從職業學校畢業。目前宿舍有十一位學生。

Primary Education Assistance Project.

General background
Basic education belong to Tak education area 2 and provide from Thai education ministry but by a limited of Government budget and unable service education whole country. Some big children can go to study in the other village and most of the children never learned, because the schools between their village is too long distance. They can not go to school in rainy season, the water flood and can not cross the stream. Whoever Tak Border Child Assistance Foundation have seen that the education is important, whish provided education to them through the cooperation with Mae Plu school, Mae Usu sub district, Thasong Yang district Tak provine.

Comment1
My name is Sittichai Aryarungrueng I’m student in Maesongnoi School. I very happy in learning and have many friends. I would like to learn in high level then to be teacher and teach the students with to help my village, my parents have no education because there is no school.

Location time people
1.Maesongnoi branch school Moo.8 Tumbol mae usu Amphor Thasongyang TakTo start the school term on June 2006 There are two teachers and twenty-eight students the first term we provided grade 1 of primary education.

โครงการการประถมศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน้าที่ของสำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่ตาก เขต 2 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำกับดูแลให้การบริการ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณ จึงไม่สามารถบริการได้ทั่วถึง เด็กบางคนที่โตหน่อยได้ออกไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น และเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือเพราะโรงเรียนของหมู่บ้านอื่นอยู่ห่างไกลมาก ไม่สามารถไปเรียนในฤดูฝน น้ำใหญ่ข้ามไม่ได้ มูลนิธิฯแลเห็นความจำเป็นของการศึกษาจึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้ โดยร่วมกับโรงเรียนบ้านแม่พลู ตำบลแม่อูสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ผมชื่อด.ช.สิทธิชัย อาญารุ่งเรือง เป็นนักเรียนโรงเรียนแม่สองน้อย ผมดีใจมากที่ได้เรียนหนังสือและมีเพื่อนเยอะ อยากเรียนให้สูงๆแล้วเป็นครูสอนน้องๆ หมู่บ้านผมจะได้เจริญ พ่อแม่ผมไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะไม่มีโรงเรียน

1.ห้องเรียนสาขาบ้านแม่สองน้อย หมู่ที่ 8 ตำบลแม่อูสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
เริ่มเปิดเรียนเมื่อเดือนมิถุนายน ปีการศึกษา 2549
มีครู 2 คน และนักเรียน 28 คน จัดการศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 1

基礎教育協助計畫

背景概述:
基礎教育屬達省教育廳第二辦公室管轄,但泰國教育部挹注經費預算有限,以及邊境社區位處偏遠,致使山區少數民族孩童之教育協助長期缺乏。由於村與村之間的距離太過遙遠,年紀稍長的孩子還可遠行通學,但大多數孩童都處於失學的狀態。雨季時他們也無法上學,因為溪水暴漲,學生根本渡不了河。泰國達府邊境兒童協助基金會有鑑於基礎教育的重要性,透過與教育廳和公立學校的合作來協助教育服務。

經驗分享一:
我是Sittichai Aryarungrueng,我就讀於Maesongnoi學校。在學習過程中我很快樂,也很高興結交了許多朋友。我希望我可以繼續進修,未來成為一名教師來教導學生,協助發展自己的村落。否則像我的父母就沒有受過教育,無法閱讀寫字,因為以前村子裡根本沒有學校。

計畫執行情況:
Maesongnoi分校的新學期於2006年六月開始。目前僅有小學一年級,共計有兩位教師及二十八名學生。

Early Childhood Development Project.

General background
Human development is necessary and sustainable development is importance that provide basic education to children in community. Beginning in early childhood development, for giving an opportunity to complete in physical, motivation, spiritual and other skill for basic to learn in high level. They are living in remote area, high mountain, no school in the village, their parents never learned and most them do Rice field, some year the product is enough but some year is not enough, have to buy in lowland [Town] the transportation is difficult in rainy season. This education level has to provide by Thai local administration [local government] but depend on the budget [limited] can’t provide whole. So that TBCAF has a proposal to early childhood development for appropriate with development in opportunity.

Comment1
This is important to provide knowledge to the kid because a small kid will remember and profound in things at they have seen and known in as well. So the teachers are in necessary to get a new teaching method and appropriate to take care the kid in good. We have a proposal to visit them for teaching exhibitions and do some activities with children. To give the teachers an new idea in teaching. We started in nursery schools at Huay num khun, Poo ter,Pha dei, Tam suaw and Khun huey Mae sot villages in Mae sot, Tak Province. Also we extended to migrants learning center in Maesot and the closely Mae sot area too. I have seen that the children enjoyed and movement in an interesting for learning. I am hoping that both of them will grow up in complete with physical and motivate. [Pong intern student]

Comment2
I drove the Motorcycle to Lako village, Mae ramat district, Tak province because we wouldn’t drive the car to there in rainy season; I felt that it’s long distance. This village there is no school before, on early of this year the TBCAF have seen in necessary of children and let me went to build the Nursery school there and provided one teacher, there are 42 students. When we built the Nursery school, every villager came in participated and we worked together only 3 days finished the building, the child rents came to see us when we are working and they are enjoining to have a school. I satisfied in this work, if the villagers interesting these, I think the development will good in go on. [Yo thin] Official


Location time people
The Nursery school in Huey Num Khun village, Moo 8, Ma ha wan sub district, Mae sot district, TAK. We started the school on May 2005, there are 2 teachers and 40 students.

Location time people
The Nursery school in Lako village, Moo 7, Mae Tun sub district, Mae ramat district, TAK. We started the school on June 2006, there is 1 teacher and 42 students.

โครงการการศึกษาระดับปฐมวัย

การพัฒนาคนเป็นสิ่งจำเป็นและการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุดคือการจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เด็กในชุมชน โดยเริ่มที่เด็กก่อนวัยเรียนให้เขามีโอกาสเตรียมความพร้อม ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและทักษะอื่นๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ที่สูงขึ้น พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เป็นภูเขาสูง ไม่เคยมีโรงเรียนในหมู่บ้าน ผู้ปกครองไม่ได้เรียนหนังสือและส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ข้าว บางปีมีข้าวพอกินแต่บางปีข้าวไม่พอ ต้องหาซื้อจากพื้นราบ การเดินทางลำบากมากในฤดูฝน การจัดการศึกษาในระดับนี้เป็นหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณจึงไม่สามารถบริการได้ทั่วถึง มูลนิธิฯได้จัดให้มีโครงการการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อพวกเขามีโอกาสได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมและถูกต้อง

การให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัยหรือเด็กก่อนวัยเรียนถือว่าสำคัญมาก เพราะเด็กเล็กจะจำและซึมซับเอาสิ่งต่างๆที่พวกเขาได้รู้ได้เห็นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงเด็กจำเป็นต้องมีวิธีการสอนแบบใหม่ๆหรือเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย เราจึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น โดยการออกไปสาธิตการสอนและทำกิจกรรมต่างๆกับเด็กๆ เพื่อให้ครูพี่เลี้ยงได้มีแนวคิดการเรียนการสอนใหม่ๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยน้ำขุ่น บ้านปูเตอร์ บ้านพะเด๊ะ บ้านถ้ำเสือและบ้านขุนห้วยแม่สอด พี้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และที่ศูนย์การเรียนของเด็กเร่ร่อนหรือเด็กแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในอำเภอแม่สอดและพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย ผมเห็นว่าเด็กๆมีความสนุกสนานและมีวิวัฒนาการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น เชื่อว่าเด็กทั้ง 2 กลุ่มโตขึ้นพร้อมสุขภาพและอารมณ์ที่ดีแน่นอน
นายพงษ์พัฒน์ เจษฎาอนุพงศ์กุล นักศึกษาฝึกงาน

บ้านเลโค๊ะตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ผมขับรถจักรยานยนต์ไป เพราะฤดูฝนรถยนต์ไปไม่ได้ รู้สึกว่าไกลมาก หมู่บ้านนี้ไม่เคยมีโรงเรียนมาก่อน เมื่อต้นปีนี้ทางมูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตากได้แลเห็นความสำคัญของเด็กๆและได้ให้ผมขึ้นไปสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ 1 หลัง พร้อมจัดหาครูในหมู่บ้านให้ 1 คน มีจำนวนนัเรียน 42 คน เวลาก่อสร้างเห็นชาวบ้านมีความสามัคคี ช่วยกันสร้างภายใน 3 วันก็เสร็จ ส่วนเด็กๆดีใจที่จะได้ไปโรงเรียนและมาดูพวกเราที่กำลังสร้างอาคาร ผมภูมิใจในการทำงานครั้งนี้และหากชาวบ้านช่วยเหลือกันเช่นนี้การพัฒนาจะไปได้ดี
นายโยธิน ภูผาโอฬาร เจ้าหน้าที่องค์กร

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
เริ่มเปิดเรียนเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีการศึกษา 2548
มีครู 2 คน และนักเรียน 40 คน
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเลโค๊ะ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
เริ่มเปิดเรียนเมื่อเดือนมิถุนายน ปีการศึกษา 2549
มีครู 1 คน และนักเรียน 42 คน

兒童早期發展計畫

背景概述:
為社區兒童提供基礎教育對於他們其後一生的穩定發展是絕對必要的。孩童的早期發展,可為他們肢體、動機、精神等層面的進階能力打好基礎。他們住在偏遠地區與高山上,村裡沒有學校,他們的父母不曾受過教育,大多以種田維生。有時收成充足,但收穫量不足時他們必須到平地(城鎮)購買,若不幸碰到雨季,交通會非常的不方便。僅依靠泰國當地政府有限的預算,很難周全維護當地的教育水準。因此泰國達府邊境兒童協助基金會提出計畫,為兒童的早期發展營造更優質的環境。

經驗分享一:
提供知識給兒童吸收是很重要的,因為小孩會銘記他們所看過或知道的事物。因此老師必須運用新的教學法,同時妥善地照顧孩童。我們在社區企劃教學觀摩,同時準備活動讓兒童參與,希望為老師帶來一些教學上的新想法。我們先從位於達府美索鎮(Mae sot)的Huay num khun, Poo ter,Pha dei, Tam suaw 以及 Khun huey等村落的托兒所開始。我們也將計畫延伸至美索鎮的移工學習中心及美索週邊地區。孩子們都樂在其中,我最大的願望就是他們都得以身心健全地成長。[Pong,實習學生]

經驗分享二:
我騎摩托車到達府Mae ramat區的Lako村,因為雨季的路況不適合行駛汽車,讓這趟路途顯得好漫長、好遙遠。以前這個村落沒有學校,今年初達府邊境兒童協助基金會基於當地兒童的教育需求,派遣我到這裡協助成立社區托兒所,並培訓資助一位教師,托兒所成立後共收了四十二名學生。每位村民都參與了我們建造托兒所的過程,因此我們只花三天就完工了。孩子們在旁邊觀看我們工作,因為他們很高興終於可以上學了。我也樂在其中,我相信只要村民熱衷於兒童教育,這裡一定會發展得更好。 [Yo thin,工作人員]

計畫執行情況:
1. 位在Huey Num Khun村的托兒所於2005年五月正式啟用,共計有四十名學生、兩位老師。
2. 位在Lako村的托兒所於2006年六月正式啟用,共計有四十二名學生、一位老師。